เกร็ดความรู้

เกล็ดความรู้เกี่ยวกับประกันสังคม






อนุสาวรีย์ เเละสถานที่สำคัญ ต่างๆ

           ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช




       ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งอยู่บนถนนจรดวิถีถ่อง ศาลนี้แต่เดิมอยู่ที่วัดดอยเขาแก้วฝั่งตรงข้ามกับตัวเมือง ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๙๐ ชาวเมืองเห็นว่าศาลนั้นไม่สมพระเกียรติ จึงช่วยกันสร้างศาลขึ้นใหม่พร้อมกับให้กรมศิลปากรหล่อพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขนาดใหญ่กว่าพระองค์จริงเล็กน้อย ในพระอิริยาบถที่กำลังประทับอยู่บนราชอาสน์ มีพระแสงดาบพาดอยู่ที่พระเพลา ที่ฐานพระบรมรูปมีคำจารึกว่า พระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ทรงพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. ๒๒๗๗ สวรรคต พ.ศ. ๒๓๒๕ รวม ๔๘ พรรษา”  ศาลนี้เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป
       สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ พระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระนามเดิมว่า สิน (ชื่อจีนเรียกว่า เซิ้นเซิ้นซิน) เป็นบุตรของขุนพัฒน์ และ นางนกเอี้ยง  เกิดเมื่อวันอาทิตย์ มีนาคม พ.ศ. 2277 ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาเจ้าพระยาจักรีผู้มีตำแหน่งสมุหนายกเห็นบุคลิกลักษณะ จึงขอไปเลี้ยงไว้เหมือนบุตรบุญธรรม ตั้งแต่ครั้งยังเยาว์วัยได้รับการศึกษาขั้นต้นจากสำนักวัดโกษาวาส (วัดคลัง) และ บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ 13 ขวบ ที่วัดสามพิหาร หลังจากสึกออกมาแล้วได้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก และ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุครบ 21 ปีตามขนบประเพณี 3 พรรษา หลังจากสึกออกมาได้เข้ารับราชการ ต่อ ณ. กรมมหาดไทยที่ศาลหลวงในกรมวัง ต่อมาในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) จึงได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตากจนได้เป็นพระยาตาก ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นได้ถูกเรียกตัวเข้ามาในกรุงศรีอยุธยา เพื่อแต่งตั้งไปเป็น พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชรแทนเจ้าเมืองคนเก่าที่ถึงแก่อนิจกรรมลงใน พ.ศ. 2310 ครั้นเจริญวัยวัฒนา ก็ได้ไปถวายตัวทำราชการกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความดีความชอบจนได้รับเลื่อนหน้าที่ราชการไปเป็นผู้ปกครองหัวหน้าฝ่ายเหนือคือ เมืองตาก และเรียกติดปากมาว่า พระยาตากสิน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชครองราชย์สมบัติกรุงธนบุรีได้ 15 ปีเศษ ก็สิ้นพระชนม์มีชนมายุ 48 พรรษา กรุงธนบุรีัมีกำหนดอายุกาลได้ 15 ปี


  ศาลพระวอ







ก่อนที่จะถึงอำเภอแม่สอด  จังหวัดตาก  ประมาณ  17  กิโลเมตรก็จะเป็นสถานที่สำคัญยิ่งของชาวอำเภอแม่สอด  คือ  ศาลเจ้าพ่อพะวอ  มงคลสถานศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก            กว่าสองร้อยปีมาแล้วที่ ศาลเจ้าพ่อพะวอ  ตั้งตระหง่านอยู่บนขุนเขาผาวอ  เทือกเขาถนนธงชัยเป็นที่เคารพสักการะของชนทั่วไป  ผู้ที่ผ่านสัญจรไปมาต้องแวะกราบไหว้เสมอ  ศาลเจ้าพ่อพะวอ  อนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้น ด้วยความเคารพศรัทธาปสาทะอย่างแรงกล้า ต่อวีรบุรุษชาตินักรบชาวกะเหรี่ยงปกากะญอ  สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอันเป็นที่เคารพอย่างสูงสุด   ของชาวอำเภอชายแดนซีกตะวันตกสุดของจังหวัดตาก           ดินแดนประจิมของไทยโดยเฉพาะ 5 อำเภอชายแดนตะวันตกสุดของจังหวัดตาก  ผู้คนทั่วไปส่วนมากเคารพนับถือ ท่านเจ้าพ่อพะวอ  และ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  เสมือนหนึ่งเป็นศูนย์รวมใจของผู้คนทั่วไป ที่เคารพเทิดทูน ในดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของท่านเจ้าพ่อ     พะวอ และดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ถึงพระวีรกรรมอันห้าวหาญและความเสียสละของท่านอย่างทรงพลัง ที่สมควรแก่การยกย่องเทิดทูนบูชา  เมื่อสมัยเกือบร้อยปีมาแล้วมีการสร้างศาลเล็ก ๆ แล้วอัญเชิญดวงวิญญาณของท่านเจ้าพ่อพะวอสิงสถิต ณ เชิงเขาซึ่งอยู่ฟากฝั่งของขุนเขาซึ่งเป็นเส้นทางเดินทัพสมัยโบราณ  กาลต่อมาในราวปี พ.ศ. 2507 ทางหลวงสายตาก แม่สอด กำลังก่อสร้างอยู่ พ่อค้าข้าราชการและประชาชนทั่วไปได้ร่วมกันสร้างขึ้นใหม่ เป็นศาลจตุรมุข    โดยอัญเชิญดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของท่านเจ้าพ่อพะวอ และผู้กล้าหาญทั้งหลาย     จากศาลเดิมเชิงเขาด้านทิศเหนือมายังเชิงเขาทางด้านทิศใต้ของขุนเขา ดังที่ทุกท่านเห็นในปัจจุบันนี้  พร้อมกันสร้างรูปจำลองของท่านขนาดเท่าองค์จริงด้วยทองสำริด  อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ ศาลเจ้าพ่อพะวอมาตราบเท่าทุกวันนี้          ผาวอขุนเขางามที่สูงเสียดฟ้า เสมือนป้อมปราการและหอคอย ที่สามารถมองเห็นการเดินทัพของข้าศึกในสมัยโบราณเป็นอย่างดี  เป็นปราการหินที่สูงตระหง่าน ดุจประตูเมืองที่แข็งแกร่ง บริเวณศาลเจ้าพ่อพะวอหลังเดิม คือ ที่ตั้งของด่านแม่ละเมาที่ท่านและไพล่พลจำนวนหนึ่งคอยดูแลรักษา หาข่าวแจ้งเหตุไปยังเมืองตาก และเมืองระแหงอีกทอดหนึ่ง  เมื่อมีเหตุหรือข้าศึกศัตรูรุกล้ำแดนมา         ด่านแม่ละเมา เป็นด่านแรกของไทย เป็นเส้นทางเดินทัพ  และเส้นทางการค้าในสมัยโบราณนับพัน ๆ ปีมาแล้ว  การที่พม่าจะยกทัพมาตีไทย จะเดินทัพมาได้เพียงสองทางเท่านั้นคือ เมื่อเคลื่อนทัพจากกรุงหงสาวดีมาแล้ว  จะมาตั้งชุมนุมจัดกระบวนทัพที่เมืองเมาะตะมะ  แล้วเดินเลาะเลียบเชิงเขาตะนาวศรีผ่านด่านแม่ละเมา  ทางหนึ่ง กับยกทัพข้ามช่องแคบที่แม่น้ำกษัตริย์ หรือที่เรียกกันว่า ด่านเจดีย์สามองค์  อีกทางหนึ่ง ด่านเจดีย์สามองค์เป็นทางตรง  พม่าจะใช้เวลาเดินทัพเพียง 15 วัน สามารถโจมตีกรุงศรีอยุธยาได้เลย  แต่ทัพของพม่าเห็นว่าจะไม่ค่อยปลอดภัย   เพราะกลัวทัพไทยจากหัวเมืองฝ่ายเหนือยกลงมาตีกระหนาบได้  การที่ยกทัพผ่านด่านแม่ละเมาก็เพื่อตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ      เพื่อตัดกำลังฝ่ายเหนือเสียก่อนแล้วค่อยยกทัพไปตีกรุงศรีอยุธยา             ลุถึง..ปีมะแมสัปตศกพุทธศักราช  2318  (31  ตุลาคม)  กองทัพข้าศึกเคลื่อนทัพมายังไทยเพื่อเข้าตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ  ท่านเจ้าพ่อพะวอนำกำลังไพร่พลที่มีเพียงหยิบมือเดียว  เข้าหาญปะทะกับข้าศึกศัตรูอย่างกล้าหาญ  และเด็ดเดี่ยว  ทุกท่านได้ต่อสู้กับข้าศึกศัตรูจนถึงแก่ชีวิต    ทุกคน    ยุทธภูมิด่านแม่ละเมา  กลายเป็นตำนานเล่าขานถึงวีรกรรม  ความเสียสละชีพเพื่อปกป้องอธิปไตยของไทย  และปกปักรักษาผืนแผ่นดินไทยไว้อย่างหวงแหน  วิญญาณของท่านได้วนเวียนสถิต  เป็นเทพยดารักษาเมืองมาตราบเท่าทุกวันนี้             ความศักดิ์สิทธิ์และอำนาจบารมีของท่าน  ผู้คนจากทุกสารทิศต่างหลั่งไหล  แวะเวียนมากราบไหว้บูชามิได้ขาด  กล่าวกันว่าท่านเจ้าพ่อพะวอ  สามารถดลบันดาลความสุข  ความสำเร็จ  ความนิรันตรายทั้งปวงได้อย่างปาฏิหาริย์  และอัศจรรย์ที่สุด              มีเรื่องเล่าว่า  ในสมัยที่บ้านเมืองยังไม่พัฒนาและเจริญเหมือนทุกวันนี้  หากมีเหตุอันตราย  หรือ  มีภัยพิบัติกับราษฎรแถบถิ่นนี้  มักจะได้ยินเสียงแผดคำรามของ  อาม๊อก  หรือที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็น  ปืนหิน  ที่อยู่บนชะง่อนผาขุนเขาผาวอเป็นอัศจรรย์  ทำนองเดียวกันของวันนั้นในยามค่ำคืน  จะได้ยินเสียงฝีเท้าม้าวิ่งรอบ ๆ  ตัวเมืองและหมู่บ้านต่าง ๆ  ผสานกับเสียงพรวนที่ผูกติดด้วย            พะวอ  เป็นชื่อของชนชาติกะเหรี่ยง  คำนำหน้าว่า  พะ  ก็คือ  นาย  คำว่า  วอ  อาจจะแผลงมาจาก  วา  แปลว่า  ขาว  หรือ  นายขาว  พะวา  อาจจะเพี้ยนเสียงมาเป็น  พะวอ  ก็ได้             ส่วนคำว่า  พะวอฮ์  ออกเสียง  วอ  อยู่ในลำคอ  พาวอฮ์  ก็คือ  นายแดง  นั่นเอง  (คำนี้เป็นข้อมูลใหม่  ที่ชาวเผล่อ  และชาวปกากะญอเสนอแนะมา)             ส่วนขุนเขา  ผาวอ  ที่อาจจะเพี้ยนเสียงมาเป็น  พะวอ  ก็ได้เหมือนกัน  ผาวอ  เป็นขุนเขาที่ตั้งของด่านแม่ละเมา  เป็นขุนเขาที่มีรูโหว่เป็นโพลงถ้ำ  อาจจะเรียก  ผาโหว่  ก็ได้  ชาวกะเหรี่ยงซึ่งเป็นเจ้าถิ่นเดิมแห่งนี้  อาจจะเรียกว่า  พาวอ  หรือ  พะวอได้เหมือนกัน             ตำนานเมืองเหนือ  กล่าวถึงวีรบุรุษชาตินักรบปกากะญอนี้ว่า  ป้อเจ้าหลวงผาวอ            รูปจำลองของท่านเจ้าพ่อพะวอ  บ่งบอกถึงลักษณะของชายชาตินักรบ  ชุดแต่งกายที่สมเกียรติศักดิ์ศรี  จากบุคลิกภาพของท่าน  แสดงถึงเอกลักษณ์ของนักรบโบราณ  ใบหน้าเครียดขึงขังดุดัน  เรือนกายกำยำสูงใหญ่  ถือง้าวเป็นอาวุธคู่กาย  แต่แววตาแฝงด้วยความเมตตาปรานี            ด้วยเหตุที่ท่านเป็นนักรบโบราณ  จึงชอบเสียงปืนและประทัดมาก  จึงมีผู้ยิงปืนและจุดประทัดถวายทุกครั้ง  หรือไม่ก็จะบีบแตร  แสดงความคารวะเมื่อสัญจรผ่านไปมา           แม้จะล่วงลับไปนานกว่าสองร้อยปี  แต่วีรกรรมอันห้าวหาญของท่าน  เป็นการประกาศศักดิ์ศรี  ให้อนุชนทั่วไปได้รับรู้  และจะเป็นตำนานเล่าขานสืบต่อไปยังอนุชนรุ่นหลัง  ให้ยึดถือเป็นแบบอย่าง  สักขีพยานที่บ่งบอกถึงความศรัทธาอย่างแรงกล้า  ของอนุชนทั่วไป  ก็คือ  ความเคารพศรัทธาอย่างแนบแน่น  ที่ไม่มีวันเสื่อมคลายนั่นเอง            เจ้าพ่อพะวอเป็นชายชาตินักรบชาวกะเหรี่ยง  ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ทรงแต่งตั้งให้มีศักดิ์ฐานะเป็นนายด่านแม่ละเมา  เมืองหน้าด่านของไทย  ในรัชสมัยของพระองค์ท่าน  คอยดูแลรักษาหาข่าวแจ้งเหตุ  เมื่อมีเหตุหรือข้าศึกศัตรูรุกล้ำแดนมา 


ศาลหลักเมือง







ศาลหลักเมืองสี่มหาราช อำเภอเมือง จังหวัดตาก 

             ศาลหลักเมืองสี่มหาราช อำเภอเมือง จังหวัดตาก เป็นอนุสรณ์สถานสำคัญของจังหวัดตาก สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า เมืองตากเป็นเมืองเก่าแก่ก่อนสมัยกรุงสุโขทัย ที่มีมหาราชเจ้าในอดีตได้เสด็จมชุมนุมกองทัพที่เมืองตาก ถึง 4 พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง แล้วทรงกองทัพกลับพระราชอาณาจักไทยโดยเสด็จผ่านดินแดนเมืองตากเป็นแห่งแรก สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงนำทัพไปตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ และโปรดให้สร้างวัดพระนารายณ์ที่เชิงสะพานกิตติขจรปัจจุบัน
            และที่สำคัญที่สุดก็คือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ทรงได้รับพระราชโองการจากพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตาก ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ซึ่งพระมหากษัตริย์ที่เสด็จมายังเมืองตากทั้ง 4 พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณและทรงกระทำประโยชน์ต่อแผ่นดินไทยเป็นอย่างยิ่ง ชาวตากจึงสร้างอนุสาวรีย์ศาลหลักเมืองสี่มหาขึ้น เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวตากสืบไป

 อนุสรณ์ผู้เสียสละ 

  




ประวัติความเป็นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ได้เข้ามาเคลื่อนไหวเพื่อขยายเขตงาน และแสวงหาแนวร่วมจากชนชาวเขา กลุ่มชาวไร่ ชาวนาในพื้นที่อำเภอแม่สอด กิ่งอำเภอพบพระ และอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก จนกระทั่งจัดตั้งสำนักดอยหลวง และกองกำลังติดอาวุธขึ้นที่อำเภอแม่สอด ในปี พ.ศ. 2510 จากนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา การปะทะกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลก็เพิ่มความรุนแรง มากขึ้นตามลำดับ
ในเดือนสิงหาคม 2523 กองกำลังเฉพาะกิจที่ 342 ได้เปิดยุทธการสิงห์โต เพื่อกวาดล้างผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในเขตอำเภอแม่สอด ทำให้ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ได้รับความเสียหายอย่างหนัก จำเป็นต้องละทิ้งฐานที่มั่นไปอยู่ในเขตอำเภออุ้มผาง และมีบางส่วนได้เข้ามอบตัวกับรัฐบาล
หลังจากกองกำลังเฉพาะกิจที่ 342ได้แปรสภาพเป็นกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ 34 (พตท.34) ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2524 แล้ว ได้ติดตามกวาดล้างผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่อีกต่อไป จนกระทั้งสามารถทำให้การสู้รบในเขตอำเภอแม่สอด กิ่งอำเภอพบพระ และอำเภออุ้มผาง ได้ยุติลงอย่างเด็ดขาด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา และผลจากการดำเนินงานดังกล่าว ทำให้เจ้าหน้าที่พลเรือน ตำรวจ ทหาร ได้เสียชีวิตไป 93 นาย และบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก ในระยะหลังได้มีพี่น้องร่วมชาติได้พลีชีพ เพื่อรักษาอธิปไตยตามแนวชายแดนอีกจำนวนหนึ่งด้วย
เพื่อเป็นการระลึกถึงวีรกรรมของผู้เสียสละชีวิต และเลือดเนื้อเพื่อประเทศชาติ กองทัพภาคที่ 3 หน่วยราชการ และพี่น้องประชาชนชาวไทย จึงได้จัดสร้างอนุสรณ์สถานแห่งนี้ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจต่ออนุชนรุ่นหลังต่อไป
ที่ตั้ง บริเวณทางหลวง กม. 34.250 - 34.620
หมู่บ้านห้วยหินฝน  ถนนหมายเลข 105 (ตาก - แม่สอด)
ตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด  จังหวัดตาก


                                     

                             อนุสาวรีย์พระร่วงเเละบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง 






บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง 

 บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง ตั้งอยู่ที่บ้านลานหิน  ตำบลลานดอกไม้  อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมือง
 กำแพงเพชรประมาณ  22  กิโลเมตร  สภาพเดิมบ่อน้ำพุร้อนพระร่วงเป็นทุ่งนา  มีน้ำร้อนผุดขึ้นมา 
ชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงได้นำน้ำไปใช้อุปโภคและบริโภคในฤดูแล้งเป็นประจำทุกปี  ในปี พ.ศ. 2541
องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชรได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาบ่อน้ำพุร้อนพระร่วงแห่งนี้ 
 ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร
ตามตำนานกล่าวว่า บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง แต่เดิมบริเวณบ่อน้ำพุร้อนแห่งนี้  มีลักษณะเป็นลุ่มน้ำขัง 
มีป่าโปร่งล้อมรอบสลับด้วยเนินเตี้ยๆ  พื้นดินบางแห่งมีหินโผล่ขึ้นเป็นกลุ่มน้อยใหญ่สลับกันตำนานเล่าว่า
ครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี  สมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จประพาสป่าล่าสัตว์มาถึงบริเวณบ่อน้ำพุร้อน
แห่งนี้  วันหนึ่งพระองค์ทรงเห็นไก่ป่าตัวหนึ่งมีลักษณะสวยงามและมีเสียงขันไพเราะมาก  จึงทรงให้
นายพรานที่ตามเสด็จ  ต่อไก่ป่าตัวนั้นและได้ไก่ป่าสมพระราชประสงค์  โดยมีไก่ป่าตัวอื่นๆ ติดไปด้วย
เป็นจำนวนมาก ในวันนั้นพระองค์และนายพรานล่าสัตว์อื่นไม่ได้เลย จึงทรงให้ทหารนำไก่ป่าตัวอื่นๆ
ไปปรุงอาหารสำหรับเสวย  แต่เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นป่า  ไม่มีบ้านเรือนราษฎร  จึงไม่มีไฟใช้ทำ
อาหาร  พระองค์จึงทรงสาปน้ำที่อยู่ในบึงบริเวณใกล้ๆ ให้เป็นน้ำร้อน บึงดังกล่าวจึงเรียกว่า
บึงพระร่วงสาป”  ต่อมาภายหลังเรียกสั้นลงว่า  “บึงสาป”  และเป็นที่โจษขานกันว่าน้ำในบึงสาปนี้
สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บ  เช่น  โรคปวดเมื่อยตามร่างกาย  โรคผิวหนังได้  จึงมีประชาชนในท้องถิ่น
และจังหวัดใกล้เคียงพากันไปอาบ  ดื่ม  กิน  และบางรายนำน้ำกลับไปเพื่อเป็นสิริมงคล
องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ได้นำตัวอย่างน้ำแร่ร้อนที่บ่อน้ำพุร้อนพระร่วงแห่งนี้
ให้กับหน่วยงานในสังกัดสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร  ทำการตรวจวิเคราะห์ผลปรากฏว่าไม่มีสาร
ปนเปื้อนและไม่มีเชื้อโรคที่เป็นอันตราย  อีกทั้งไม่มีกลิ่นกำมะถัน  อุณหภูมิของน้ำร้อนอยู่ระหว่าง 
45-60 องศาเซลเซียส ใช้อาบ แช่ตัวได้ และที่สำคัญดื่มได้อย่างปลอดภัย  แร่ธาตุที่มีอยู่ในน้ำแร่
ประกอบด้วย แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม ฟลูออไรด์ โซเดียม ไบคาร์บอเนต ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
คลอไรด์ ซัลเฟต และไนเตรต
ประโยชน์ของการอาบน้ำแร่  ด้วยอุณหภูมิของน้ำแร่ร้อนอยู่ที่  45 – 60  องศาเซลเซียส 
ซึ่งอุณหภูมิของความร้อนดังกล่าวมีความสอดคล้องกับการรักษาทางการแพทย์  ที่เรียกว่า ธาราบำบัด
โดยอาศัยหลักการที่ว่า  การใช้น้ำที่มีอุณหภูมิสูงในระดับที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
มีผลต่อการผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ เป็นผลให้รู้สึกสบายตัวยิ่งขึ้น เมื่อร่างกายรู้สึกสบาย
ความตึงเครียดน้อยลง ย่อมมีผลต่อสภาพจิตใจ ถือเป็นการลดความเครียดได้อีกวิธีหนึ่ง

 อนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำเเหงมหาราช






ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในสมัยสุโขทัย
     ในสมัยสุโขทัย  มีพระมหากษัตริย์ที่ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญอยู่หลายพระองค์ที่ได้สร้างผลงานอันมีคุณค่า  ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนและมีผลดีต่ออาณาจักรที่เราควรศึกษาในชั้นนี้  ได้แก่

          1.  พระราชประวัติ
               
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับพระนางเสือง  ทรงมีพระนามเดิมว่า  ราม  พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ของอาณาจักรสุโขทัย  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1822  ต่อจากพ่อขุนบานเมือง  ซึ่งเป็นพระเชษฐา(พี่ชาย)
          2.  วีรกรรมสำคัญ
               พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเป็นกษัตริย์นักรบที่มีพระปรีชาสามารถในด้านการทำศึกสงครามตั้งแต่ยังไม่ได้ครองราชย์  ดังจะเห็นได้จากเมื่อพระองค์มีพระชนมายุ 19 พรรษา  พระองค์ได้เสด็จตามพระราชบิดาไปทำสงครามแย่งชิงเมืองตากกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด  และรบชนะขุนสามชน  พระบิดาจึงเฉลิมพระนามให้ว่า  รามคำแหง
          3.  พระราชกรณียกิจ
               อาณาจักรสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก  เนื่องมาจากพระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ ของพระองค์  ดังนี้
               1.  ด้านการเมืองการปกครอง  พระองค์ทรงใช้รูปแบบการปกครองแบบ  พ่อปกครองลูก  กล่าวคือ  พระองค์ทรงดูแลเอาใจใส่ในทุกข์สุขของราษฎร์เหมือนพระองค์เป็นพ่อ  ส่วนราษฎรหรือไพร่ฟ้าคือลูก  เมื่อราษฎรมีเรื่องเดือดร้อนก็ให้มาสั่นกระดิ่งที่หน้าประตูวัง  แล้วพระองค์ก็จะเสด็จออกมารับฟังเรื่องราว  เพื่อทรงตัดสินปัญหาด้วยพระองค์เอง
                    นอกจากนี้  พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงทำสงครามขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางมากกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในสมัยสุโขทัย
               2.  ด้านเศรษฐกิจ  พระองค์ทรงโปรดให้สร้างทำนบกักเก็บน้ำที่เรียกว่า  ทำนบาพระร่วง  หรือสรีดภงค์  เพื่อใช้กักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง  นอกจากนี้  พระองค์ทรงให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการค้าขายได้อย่างมีอิสระเสรี  ไม่มีการเก็บภาษีผ่านด่านจาการาษฎร  ที่เรียกว่า จกอบ  ทำให้การค้าขายขยายออกไปอย่างกว้างขวาง  และทรงโปรดให้สร้างเตาเผาเครื่องสังคโลกเป็นจำนวนมาก  เพื่อผลิตสินค้าออกไปขายยังดินแดนใกล้เคียง
               3.  ด้านศิลปวัฒนธรรม  พระองค์ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทย  ที่เรียกว่า  ลายสือไทย  และได้มีการรพัฒนามาเป็นลำดับจนถึงอักษรไทยในปัจจุบัน  ทำให้คนไทยมีอักษรไทยาใช้มาจนถึงทุกวันนี้  โดยโปรดให้จารึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ สมัยสุโขทัยลงบนศิลา  เมื่อ พ.ศ. 1826  เรียกว่า  ศิลาจารึกหลักที่ 1
                    พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเป็นผู้นำในการสร้างศรัทธาให้ประชาชนเลื่อมใสในพระพุทธศานา  พระองค์ทรงนิมนต์พระสงฆ์นิกายเถรวาท  ลัทธิลังกาวงศ์  จากเมืองนครศรีธรรมราชที่กลับมาจากลังกา  มาเผยแผ่คำสอนทางพระพุทธศาสนาแก่ราษฎร  ซึ่งทำให้ชาวสุโขทัยเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและแสดงออกมาในรูปแบบศิลปกรรมด้านต่าง ๆ เช่น  การสร้างพระพุทธรูป  วัด  เจดีย์  เป็นต้น  ทำให้พระพุทธศาสนาวางรากฐานมั่นคงในอาณาจักรสุโขทัย  จนกระทั่งกลายเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาจนถึงปัจจุบัน

                           อนุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์



พระบรมนามาภิไธย: พ่อขุนบางกลางหาว (เจ้าเมืองบางยาง)
พระปรมาภิไธย: กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์
ราชวงศ์: ราชวงศ์พระร่วง
ระยะครองราชย์: 29 ปี
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระมเหสี: พระนางเสือง
พระราชโอรส/ธิดา: มีพระราชโอรสและพระธิดารวม 5 พระองค์

       พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือพระนามเต็ม กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ พระนามเดิม พ่อขุนบางกลางหาว (ไม่ใช่ กลางท่าว) ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งประวัติศาสตร์ไทย ครองราชสมบัติ ตั้งแต่ พ.ศ. 1792 (คำนวณศักราชจากคัมภีร์สุริยยาตรตามข้อเสนอของ ศ. ประเสริฐ ณ นครและ พ.อ.พิเศษ เอื้อน มณเฑียรทอง) แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการสวรรคตหรือสิ้นสุดการครองราชสมบัติปีใด มีผู้สันนิษฐานที่มาของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จากคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ว่าบ้านเดิมของพระองค์อาจอยู่ที่ "บ้านโคน" ในจังหวัดกำแพงเพชร

พระนาม

1.บางกลางหาว
2.ศรีอินทราทิตย์
3.อรุณรา
4.ไสยรังคราช หรือสุรังคราช หรือไสยนรงคราช หรือรังคราช
5.พระร่วง หรือโรจนราช

       สำหรับพระนามแรก คือ พ่อขุนบางกลางหาวนั้น เป็นพระนามดั้งเดิมเมื่อครั้งเป็นเจ้าเมืองบางยาง พระนามนี้ไม่มีปัญหาอะไรมากนัก และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า พ่อขุนบางกลางหาวเป็นพระนามสมัยเป็นเจ้าเมืองบางยางโดยแท้จริง
       พระนามที่สองนั้น เป็นพระนามที่ใช้กันทางราชการ เป็นพระนามที่เชื่อกันว่าทรงใช้เมื่อราชาภิเษกแล้ว คำว่าศรีอินทราทิตย์นั้น ไมมีปัญหา เพราะมีบ่งอยู่ในศิลาจารึก แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือ คำที่นำหน้า คำว่า "ศรีอินทราทิตย์" เพราะเรียกแตกต่างกันไปว่า ขุนศรีอินทราทิตย์บ้าง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์บ้าง พระเจ้าศรีอินทราทิตย์บ้าง และบางทีก็เรียกพระเจ้าขุนศรีอินทราทิตย์

พระราชกรณียกิจ


       พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เมื่อครั้งยังเป็นพ่อขุนบางกลางหาวได้ร่วมกับพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดแห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถุม รวมกำลังพลกัน กระทำรัฐประหารขอมสบาดโขลญลำพง โดยพ่อขุนบางกลางหาวตีเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองบางขลงได้ และยกทั้งสองเมืองให้พ่อขุนผาเมือง ส่วนพ่อขุนผาเมืองตีเมืองสุโขทัยได้ ก็ได้มอบเมืองสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลาวหาว พร้อมพระขรรค์ชัยศรีและพระนาม "ศรีอินทรบดินทราทิตย์" ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม ภายหลังได้คลายเป็น ศรีอินทราทิตย์ การเข้ามาครองสุโขทัยของพระองค์ ส่งผลให้ราชวงศ์พระร่วงเข้ามามีอิทธิพลในเขตนครสุโขทัยเพิ่มมากขึ้น และได้แผ่ขยายดินแดนกว้างขวางมากออกไป แต่เขตแดนเมืองสรลวงสองแคว ก็ยังคงเป็นฐานกำลังของราชวงศ์ศรีนาวนำถุมอยู่
       ในกลางรัชสมัย ทรงมีสงครามกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ทรงชนช้างกับขุนสามชน แต่ช้างทรงพระองค์ ได้เตลิดหนีดังคำในศิลาจารึกว่า "หนีญญ่ายพ่ายจแจ" ขณะนั้นพระโอรสองค์เล็ก ทรงมีพระปรีชาสามารถ ได้ชนช้างชนะขุนสามชน ภายหลังจึงทรงเฉลิมพระนามพระโอรสว่ารามคำแหง
       ในยุคประวัติศาสตร์ชาตินิยม มีคติหนึ่งที่เชื่อกันว่า พระองค์ทรงเป็นผู้นำชนชาติไทย ต่อสู้กับอิทธิพลขอมในสุวรรณภูมิ ทรงได้ชัยชนะและประกาศอิสรภาพตั้งราชอาณาจักรสุโขทัยขึ้น และทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย แต่ภายหลัง คติดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่จริง เพราะพระองค์ไม่ได้เป็นปฐมกษัตริย์ อีกทั้งยังมีพ่อขุนศรีนาวนำถุม ครองสุโขทัยอยู่ก่อนแล้ว
  • ที่อยู่ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย
  • ตั้งอยู่ริมถนนจรดวิถีถ่องทางทิศเหนือของวัดมหาธาตุ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 ลักษณะพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นพระบรมรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงรมดำ ประทับนั่งห้อยพระบาทบนพระแท่นมนังคศิลาบาตร พระหัตถ์ขวาถือคัมภีร์ พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่าทรงสั่งสอนประชาชน พระแท่นด้านซ้ายมีพานวางพระขรรค์ไว้ข้าง
                             อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก






ประวัติและความเป็นมา
  จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง ได้ชื่อว่าเมืองแห่งพระแท่นศิลาอาสน์ ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม และบ้านเกิดของพระยาพิชัยดาบหัก ขุนศึกคู่บารมีของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
  อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในสมัยอยุธยาและสมัยธนบุรีนั้น อุตรดิตถ์มีเมืองสำคัญคือเมืองพิชัยและเมืองสวางคบุรีซึ่งเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ (ซึ่งทั้งสองเมืองนั้นเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย)
  เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" ขึ้นกับเมืองพิชัย แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านมีความเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าสำคัญในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่าท่าน้ำแห่งทิศเหนือ แต่ยังคงขึ้นกับเมืองพิชัยอยู่ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้นมากกว่าเมืองพิชัย เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด และเมืองพิชัยเลื่อนลงไปเป็นอำเภอหนึ่งขึ้นกับจังหวัดอุตรดิตถ์จนทุกวันนี้
 ที่ตั้งอนุสาวรีย์ ตำบล ในเมือง อำเภอ พิชัย อุตรดิตถ์ 53120



อนุสาวรีย์พระศรีพนมมาศ




อนุสาวรีย์พระศรีพนมมาศ  ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ตำบลศรีพนมมาศ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ สี่แยกตลาดลับแล สร้างขึ้นโดยพ่อค้าประชาชน และข้าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์และรำลึกถึงบุญคุณ ตลอดจนเทิดทูนเกียรติคุณของท่านที่ท่านเป็นนักปกครองที่นำความเจริญมาสู่ท้องถิ่นเป็นอเนกนับประการ  เป็นผู้ชักชวนราษฎรทำถนนจากเมืองลับแล ถึงบางโพ (ท่าอิฐ) ซึ่งภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานชื่อถนนสายนี้ว่า ถนนอินใจมีพร้อมกับพระราชทานบรรดา-ศักดิ์ให้นายทองอินเป็น ขุนพิศาลจีนะกิจและได้เป็น หลวงศรีพนมมาศในพ.ศ. 2447 
จนกระทั่งปีพ.ศ. 2451  ได้เลื่อนยศเป็น พระศรีพนมมาศและได้เป็นนายอำเภอคนแรกของอำเภอลับแล  พระศรีพนมมาศ จึงได้รับการยกย่องสรรเสริญตราบเท่าทุกวันนี

อนุสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร



อนุสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร


 อยู่หมู่ 7 บ้านท้องทับแล ตำบลฝายหลวง อยู่ห่างจากตัวจังหวัด 12 กิโลเมตร จากอำเภอลับแล ใช้ทางหลวงหมายเลข 1043 เป็นอนุสาวรีย์ของปฐมกษัตริย์ผู้ครองเมืองลับแล 

ประวัติเจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร

เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร เป็นกษัตริย์ในตำนานนครลับแล ถือเป็นวีรบุรุษของท้องถิ่นอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

ตามตำนานกล่าวว่าพระองค์เป็นพระราชบุตรในพระเจ้าเรืองไทธิราช กษัตริย์วงศ์สิงหนวัติแห่งอาณาจักรโยนกนาคนครเชียงแสน พระองค์ได้รับโปรดเกล้าฯ จากพระราชบิดาให้มาปกครองนครลับแล ซึ่งถือว่าเป็นเมืองชายแดนของอาณาจักรโยนกนาคนครเชียงแสนเมื่อปี พ.ศ. 1513 เพื่อป้องกันภัยจากการรุกรานของกำโพชนคร (ขอม) และ พม่า จึงอาจกล่าวได้ว่า พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งนครลับแล




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ร.ต.ลอย หาญณรงค์ ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตตาก ตรวจเยี่ยมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย สำนักงานรักษาความปลอดภัย องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในเขตพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อ ๑๓ ต.ค.๕๘

พลโท ยุทธชัย พันธุ์งาม รองผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พร้อมด้วยรองนายกสมาคมแม่บ้านองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เยี่ยมชมสินค้าและผลิตภัณฑ์ ของทหารผ่านศึกและครอบครัวทหารผ่านศึก วันที่ ๒ ก.ค.๕๘